ผู้เขียน หัวข้อ: อาหารสายยาง อาหารทางการแพทย์เหมาะกับใคร  (อ่าน 21 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 216
    • ดูรายละเอียด
อาหารสายยาง อาหารทางการแพทย์เหมาะกับใคร
« เมื่อ: วันที่ 27 พฤศจิกายน 2024, 14:24:37 น. »
อาหารสายยาง อาหารทางการแพทย์เหมาะกับใคร

อาหารทางการแพทย์ คืออาหารที่มีสุดพิเศษสำหรับความเจ็บป่วยเฉพาะที่ เป็นอาหารที่ใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์เท่านั้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ถูกต้องและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคขาดสารอาหาร ซึ่งอาหารทางการแพทย์จะแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆได้แก่ สูตรอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน สูตรอาหารที่มีคุณค่าทาง โภชนาการไม่สมบูรณ์ สูตรอาหารสำหรับผู้ที่มีระบบเผาผลาญผิดปกติและสูตรสารน้ำที่ให้ทางปาก โดยอาหารทางการแพทย์สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีอาการแพ้อาการเบาหวานหรือมีปัญหาความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร แต่อาหารทางการแพทย์ไม่ได้มีจุดประสงค์ในการรักษาโรค

ดังนั้นจึงไม่สามารถรักษาโรคได้ แต่เป็นการช่วยป้องกันการเกิดปัญหาจากโรคและช่วยจัดการเกี่ยวกับโรคได้ง่ายขึ้น ทั้งยังไม่มีผลข้างเคียงใดๆ เมื่อใช้ สำหรับผู้ที่ต้องใช้อาหารทางการแพทย์ คือ ผู้ป่วยที่ต้องต่อสู้กลับความเจ็บป่วยและไม่สามารถได้รับโภชนาการที่เพียงพอจากการรับประทานอาหารได้ตามปกติ หรืออาจจะเป็นผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารหรือโรคไต ซึ่งมีความต้องการสารอาหารเฉพาะอาหารทางการแพทย์จึงสามารถเติมเต็มความต้องการนี้ได้ แต่ไม่สามารถใช้แทนยา แต่ใช้เพื่อเสริมหรือช่วยสนับสนุนการรักษาของผู้ป่วยเท่านั้น สำหรับวันนี้จะมาพูดถึงอาหารทางการแพทย์ว่าผู้ใดเหมาะสมที่จะใช้อาหารทางการแพทย์ และควรมีวิธีใช้อย่างไรให้ปลอดภัยและถูกต้อง

 อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า อาหารทางการแพทย์เป็นผลิตภัณฑ์อาหาร ที่ผลิตขึ้นเพื่อนำมาใช้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ หรือไม่สามารถรับประทานอาหารเป็นปกติได้อย่างเพียงพอ หรือผู้ป่วยที่มีร่างกายอยู่ในภาวะที่ต้องการสารอาหารบางอย่างเป็นพิเศษ ด้วยอาหารทางการแพทย์สามารถดื่มและรับประทานทางปากหรือใช้ในการให้อาหารทางสายยางได้ แต่ต้องมีการระบุการใช้งานเฉพาะโรคอย่างชัดเจน ต้องใช้ภายใต้การควบคุมและการดูแลของบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น สำหรับอาหารทางการแพทย์ปัจจุบันมีด้วยกันหลากหลายชนิดทั้งสำหรับผู้ใหญ่และเด็ก โดยจะแบ่งเป็นอาหารทางการแพทย์ที่ให้สารอาหารครบถ้วนและอาหารทางการแพทย์สูตรเฉพาะโรค ซึ่งอาหารทางการแพทย์ที่ให้สารอาหารครบถ้วนคือการนำเอาอาหารทั้ง 5 หมู่ มาทำเป็นรูปแบบผง สามารถชงรับประทานได้ง่าย หรือสามารถให้อาหารทางสายยางได้

สำหรับผู้ป่วยที่ต้องได้รับอาหารผ่านทางสายยางให้อาหารเข้าสู่กระเพาะอาหารโดยตรงโดย จะมีสัดส่วนและสารอาหารวิตามินและเกลือแร่ที่เหมาะสมครบถ้วน เหมาะสำหรับผู้ที่ขาดสารอาหารจากสาเหตุต่างๆเช่น รับประทานอาหารได้ไม่เพียงพอหรือผู้ป่วยระยะพักฟื้นรวมไปถึงผู้สูงอายุที่มีภาวะการกลืนอาหารลำบาก เพื่อป้องกันการเกิดโรคขาดสารอาหารและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆที่จะตามมา ต่อมาคืออาหารทางการแพทย์ สูตรเฉพาะโรคคืออาหารที่มีการคิดค้น สัดส่วนของสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุ ให้เหมาะสมกับผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรังเช่น โรคไตเรื้อรัง โรคมะเร็ง เพราะผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักมีแนวโน้มที่จะรับประทานอาหารได้ลดลง ซึ่งการใช้อาหารทางการแพทย์จึงเป็นวิธีที่สำคัญที่จะสามารถช่วยเพิ่มการได้รับพลังงานและสารอาหารในผู้ป่วยที่มีปัญหาในกลุ่มนี้ได้

และมักพบได้บ่อยคือผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีภาวะร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูง โดยผู้ป่วยเบาหวานจะต้องมีการควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังกาย อาหารทางการแพทย์ที่เหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานจะมีสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตต่ำกว่าอาหารทางการแพทย์ทั่วไป เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและยังช่วยเสริมใยอาหารมากกว่าสูตรทั่วไปด้วย นอกจากนี้อาหารทางการแพทย์ยังเหมาะสำหรับ ผู้ที่ต้องการโปรตีนสูง อาหารทางการแพทย์ในสูตรนี้จะมีปริมาณโปรตีนที่สูงกว่าสูตรทั่วไปมาก และยังมีสารอาหารที่ช่วยในการส่งเสริมภูมิคุ้มกันช่วยลดการอักเสบ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่สามารถต้องการโปรตีนเพิ่มสูงมากขึ้น เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็งหรือผู้ป่วยจากการพักฟื้นหลังจากการผ่าตัดและผู้ป่วยวิกฤติ

นอกจากนี้อาหารทางการแพทย์ยังมีสูตรเฉพาะผู้ป่วยโรคตับ ใช้สำหรับเสริมปริมาณสารอาหารในผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับเสื่อมสภาพและต้องมีการจำกัดในเรื่องของปริมาณของไขมัน อาหารทางการแพทย์สำหรับโรคไตเรื้อรัง จะมีการจำกัดปริมาณแร่ธาตุเช่น โซเดียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส ที่อาจจะมีค้างในผู้ป่วยโรคไตได้ ซึ่งจะมีปริมาณโปรตีนสูงเล็กน้อยและยังมีความเข้มข้นของพลังงานสูงจึงเหมาะกับผู้ป่วยที่ทำการล้างไตทางช่องท้อง หรือฟอกเลือด และสุดท้ายอาหารทางการแพทย์ สำหรับเด็กที่มีปัญหาในการย่อยอาหารและการดูดซึมสารอาหาร มีกรดไขมันปานกลางที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ง่ายกว่ากรดไขมันทั่วไป จึงทำให้การย่อยและการดูดซึมทำได้ง่ายขึ้น เหมาะสำหรับเด็กที่มีปัญหาในการย่อยอาหารและการดูดซึมอาหาร อย่างไรก็ตามเราอยากให้ผู้ป่วยเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับร่างกายและถูกต้อง รวมถึงจะต้องรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกายเพื่อให้ร่างกายได้ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆและยังสามารถช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพดีแข็งแรงสมบูรณ์สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มที่