ผู้เขียน หัวข้อ: พฤติกรรม เสี่ยง! โรคความดันโลหิตสูง  (อ่าน 236 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 202
    • ดูรายละเอียด
พฤติกรรม เสี่ยง! โรคความดันโลหิตสูง
« เมื่อ: วันที่ 14 กันยายน 2023, 18:51:30 น. »
เพชฌฆาตเงียบ ทำลายหัวใจ-สมอง-ไต-ตา-หลอดเลือด ความดันโลหิตสูง หากปล่อยให้เป็นนาน ไม่ได้รับการรักษา จะส่งผลให้! อวัยวะสำคัญในร่างกายถูกทำลายในที่สุด!!

รู้แล้วลดด่วน! เพราะพฤติกรรมเหล่านี้ ⚠️เพิ่มความเสี่ยง⚠️ “ความดันโลหิตสูง”

1.    กินเค็มเป็นนิสัย : เกิดจากการทานอาหารที่มีรสเค็มเป็นประจำ เมื่อร่างกายได้รับเกลือ หรืออาหารรสเค็ม จะเกิดการดูดน้ำกลับเข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้น หากร่างกายได้รับเกลือในปริมาณที่มากจนเกินไป มีส่วนทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้

2.    อ้วนน้ำหนักเกิน : ด้วยเทรนด์การกินอาหารของคนไทย ที่ชอบอาหารจำพวกฟาสฟู้ด เหตุให้เกิดโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกิน และโรคเหล่านี้เอง ที่เป็นตัวการทำให้เกิดโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดต่างๆ เกิดภาวะตีบจากภาวะไขมันไปเกาะที่ผนังหลอดเลือด จนทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงตามมาได้ง่าย

3.    ไม่ออกกำลังกาย : ไม่ออกกำลังกาย ซึ่งการไม่ออกกำลังกายทำให้เป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวาน ซึ่งหากเผชิญกับโรคทั้งสองนี้ ก็จะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้

4.    เครียด คิดมาก : “ความเครียด” ชนวนชั้นดีที่จะเร่งความดันโลหิตให้พุ่งสูงขึ้น หากรู้สึกว่าตนเองประสบกับภาวะเครียดเรื้อรัง ควรเรียนรู้การปล่อยวาง ออกไปเที่ยวพักผ่อน เพื่อคลายความเครียดที่มีอยู่

5.    สูบบุหรี่จัด : สูบบุหรี่จัดแทบหมดซองใน 1 วัน ปริมาณนิโคตินที่เข้าสู่ร่างกาย ยิ่งมากยิ่งส่งผลกระตุ้นให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนที่มีผลไปกระทบต่อความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดการอักเสบ เกิดการตีบตันของหลอดเลือดต่างๆ รวมทั้งหลอดเลือดไต อีกทั้งยังส่งผลต่อหลอดเลือดหัวใจ

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่รักษาไม่หาย แต่สามารถควบคุมให้อยู่ในระดับปกติได้ด้วยการดูแลตนเองอย่างถูกวิธี หากไม่ต้องการเผชิญกับโรคความดันโลหิตสูง เราควรหันมาดูแลตนเองเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โดยสามารถทำได้ดังนี้

    ลดการทานอาหารเค็มจัด
    รับประทานผัก ผลไม้
    พักผ่อนให้เพียงพอ
    ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
    งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
    ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม
    ตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
    ไม่เครียด หรือวิตกกังวล


พฤติกรรม เสี่ยง! โรคความดันโลหิตสูง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/