ผู้เขียน หัวข้อ: การใส่สายอาหารทางหน้าท้อง เพื่อให้ อาหารสายยาง  (อ่าน 47 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 203
    • ดูรายละเอียด
การใส่สายอาหารทางหน้าท้อง เพื่อให้ อาหารสายยาง

การให้อาหารทางสายยาง ถือเป็นการรักษาโรคอย่างหนึ่งของผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ จึงต้องมีความจำเป็นที่จะต้องให้ อาหารสุขภาพ ทางสายยางให้อาหาร เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารและพลังงานที่เพียงพอต่อร่างกาย ป้องกันการเกิดภาวะขาดสารอาหารและช่วยรักษาสมดุลของระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายให้เป็นปกติ การใส่สายอาหารทางหน้าท้องโดยใช้กล้องส่องกระเพาะอาหาร คือการใส่สายยางให้อาหารทางหน้าท้อง โดยใช้กล้องส่องกระเพาะอาหารช่วยนำสายยางให้อาหารเจาะผ่านออกมาทางหน้าท้อง

วิธีนี้จะง่าย สะดวก รวดเร็วและผู้ป่วยไม่ต้องเสี่ยงต่อการผ่าตัดใหญ่ ขนาดแผลหน้าท้องจะยาวเพียง 0.5 เซนติเมตร และอาจจะทำให้เกิดแผลเป็นบริเวณหน้าท้อง ซึ่งการให้อาหารทางสายยางมีอยู่ 2 แบบ ที่มักเห็นได้ทั่วไปก็คือ การให้อาหารทางสายยางผ่านทางรูจมูกและการให้อาหารทางสายยางที่ให้ผ่านหน้าท้อง ซึ่งการให้อาหารโดยใส่สายยางให้อาหารทางหน้าท้องนั้น เป็นวิธีที่ง่ายต่อการให้อาหารมากกว่าการใส่สายยางให้อาหารทางจมูก ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาหารเจ็บและอาจะอาเจียนได้ เนื่องจากต้องใส่สายยางเข้าไปทางจมูก ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดการระคายเคืองและทรมานมาก เหมาะกับผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว หรือ มีปัญหาในการกลืน หรือ รับประทานอาหารเองไม่ได้ สามารถใช้วิธีนี้ได้ทั้งสิ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการสำลักอาหารเข้าปอด ผู้ป่วยที่ดึงสายให้อาหารทางจมูกบ่อยครั้ง

สำหรับการเตรียมตัวเพื่อใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง ผู้ป่วยจะต้องงดอาหารและน้ำดื่มก่อนทำประมาณ 6 -8 ชั่วโมง งดยาละลายลิ่มเลือด เช่น Plavix Coumadin หรือ Aspirin เป็นเวลา 7 วันก่อนทำการใส่สายหน้าท้อง เพื่อให้สะดวกแก่การให้อาหารทา
สายยางให้อาหารทางหน้าท้อง โดยมีขั้นตอนการทำ ผู้ป่วยจะได้รับยาชาโดยการอมและพ่นในคอ หรือ ให้ยาสลบทางหลอดเลือดดำ หรือ การดมยาสลบแล้วแต่กรณี แพทย์ผู้ทำการรักษาจะใส่กล้องส่องกระเพาะอาหารเข้าไปในปากผ่านหลอดอาหารสู่กระเพาะอาหาร และฉีดยาชาที่หน้าท้องเพื่อเจาะใส่สายให้อาหารซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 30 – 45 นาที ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องงดอาหารประมาณ 1 – 3 วันเมื่อแผลเจาะกระเพาะอาหารสมานดี แพทย์จะเริ่มให้อาหารทางหน้าท้อง


ซึ่งถือว่าการให้อาหารทางสายยางบริเวณหน้าท้องจะมีวิธีที่ยุ่งยาก ซับซ้อนเพียงขั้นตอนแรก ซึ่งเรื่องของความสะอาดจะต้องคำนึงเป็นอันดับแรก เพราะแผลที่แพทย์ได้ทำการเจาะอาจจะเกิดการติดเชื้อ จึงต้องดูแลรักษาแผลอย่างถูกต้องและสะอาดมากที่สุด หลังจากนั้นในระยะ 1 – 2 สัปดาห์แรกหลังใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง ควรทำความสะอาดแผลรูเปิดและใต้แป้นสายสวน โดยวิธีปราศจากเชื้อ โดยใช้น้ำยาเบตาดีน หรือ 70% แอลกอฮอล์ และปิดผ้าก๊อซปราศจากเชื้อ วันละ 2 ครั้ง (เช้า – เย็น) และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือพยาบาลอย่างเคร่งครัด เพื่อเลี่ยงการติดเชื้อ ต่อมาเมื่อแผลแห้งดีแล้ว ให้ใช้น้ำเกลือล้างแผล หรือ น้ำต้มสุก ทำความสะอาดแผลและใต้แป้นสายสวนให้สะอาด เช็ดให้แห้ง และปิดผ้าก๊อซไว้


ผู้ป่วยสามารถอาบน้ำได้ตามปกติ (ยกเว้นมีข้อห้ามจากแพทย์) และทำความสะอาดแผลตามปกติ (ถ้าขอบแผลอักเสบยังไม่ควรอาบน้ำ) การดูแลสายยางให้อาหารถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ควรทำความสะอาดสายให้อาหารด้านนอกและข้อต่อด้วยสบู่และน้ำสะอาด ส่วนสายสวนชนิดระดับผิวหนังใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำสะอาดเช็ด ไม่ควรหักหรือพับงอสายให้อาหารนานเกินไป อาจทำให้สายแตกหักหรือพับงอ ทำให้เกิดการอุดตันได้ กรณีที่ผู้ป่วยใช้สายให้อาหารทางหน้าท้องชนิดลูกโป่ง ควรหมั่นตรวจสอบว่าตำแหน่งของสายที่ระดับผิวหนังอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง


เนื่องจากสายอาจเลื่อนเข้าไปในกระเพาะมากเกินไป ต้องดูแลให้ระดับบ่าท่อที่อยู่ทางหน้าท้องอยู่ที่ขีด 6 เซนติเมตร และควรหมุนตัวสายทุก 2 – 3 วัน เพื่อป้องกันการฝังตัวของหัวเปิดในช่องกระเพาะอาหาร ไม่ควรใช้อาหารที่มีความร้อนเพราะจะทำให้อายุการใช้งานน้อยลง ซึ่งปกติจะใช้ได้นาน 6 – 8 เดือน ทั้งนี้ควรเปลี่ยนสายทุก 6 เดือน หรือเมื่อมีสายบวม หมดสภาพ ต้องทำความสะอาด ปาก ลิ้น และฟัน ของผู้ป่วยทุกวันถึงแม้จะไม่ได้ให้อาหารทางปาก ถ้าผู้ป่วยสามารถบ้วนปากได้ควรให้บ้วนปากบ่อยๆ เพื่อป้องกันมิให้ปากแห้งและป้องกันการติดเชื้อด้วย