ผู้เขียน หัวข้อ: บริหารจัดการอาคาร: เติมน้ำยาแอร์จำเป็นมากแค่ไหน และเมื่อไหร่ที่ต้องเติมน้ำยาแอร์  (อ่าน 64 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 204
    • ดูรายละเอียด
บริหารจัดการอาคาร: เติมน้ำยาแอร์จำเป็นมากแค่ไหน และเมื่อไหร่ที่ต้องเติมน้ำยาแอร์?

แอร์ไม่เย็น ห้องร้อนเหมือนแอร์ดับเกิดจากน้ำยาแอร์หมดจริงไหม ไขข้อสงสัยน้ำยาแอร์ส่งผลต่อความเย็น และประสิทธิภาพการทำงานของแอร์หรือเปล่า เพราะฉะนั้นบทความนี้ คิวช่างจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับการเติมน้ำยาแอร์ที่ถูกต้อง เพื่อให้แอร์ของคุณใช้งานได้ยาวนาน และมีอายุการใช้งานที่มากยิ่งขึ้น


น้ำยาแอร์คืออะไร มีระบบการทำงานอย่างไร?

น้ำยาแอร์คืออะไร? หลายคนอาจมีข้อสงสัยเพิ่มเติมด้วยว่า เมื่อต้องเติมน้ำยาแอร์ต้องเติมในปริมาณเท่าไหร่ และต้องเติมบ่อยแค่ไหน? โดยเราได้รวบรวมข้อมูลเหล่านั้นไว้ที่นี่แล้ว

น้ำยาแอร์เป็นสารที่เมื่อโดนความร้อนหลังจากเปิดเครื่องปรับอากาศแล้ว จะดูดซับความร้อนจากภายนอกเข้า ทำให้สารเหลวนั้นจะขยายตัวและทำให้เกิดเป็นไอความเย็นออกมา ซึ่งจะทำงานหมุนเวียนแบบนี้คือ หยุดทำงานเมื่ออุณหภูมิสูงกว่าที่ตั้งค่าไว้ และจะทำงานใหม่เมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า

โดยการเติมน้ำยาแอร์นั้นจะขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องปรับอากาศซึ่งมีสติ๊กเกอร์แจ้งไว้อย่างชัดเจน รวมถึงช่างแอร์จะติดตามผลการทำงานและให้คำแนะนำการใช้งานและสังเกตอาการผิดปกติของแอร์ หลังจากที่มีการเติมน้ำยาแอร์และทำการซ่อมบำรุงเรียบร้อยแล้ว
น้ำยาแอร์มีความสำคัญอย่างไร เติมน้ำยาแอร์แล้วทำไมแอร์จึงไม่เย็น

เติมน้ำยาแอร์

น้ำยาแอร์ เป็นส่วนประกอบหลักในระบบการทำความเย็นของแอร์ที่มีศัพท์ทางเทคนิคเรียกว่าสารทำความเย็น (Refrigerants) มีลักษณะเป็นของเหลวที่จุดเดือดต่ำ มักนิยมนำมาใช้กับเครื่องทำความเย็น นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นแก๊ส และสามารถคืนตัวจากแก๊สเป็นของเหลวได้ในท้ายที่สุด
ทำความรู้จักกับชนิดของน้ำยาแอร์

วิธีเติมน้ำยาแอร์

น้ำยาแอร์แต่ละชนิดนั้นมีคุณสมบัติและการใช้งานที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ราคาก็ยังแตกต่างกันไปอีกด้ว โดยน้ำยาแอร์จะมีเบอร์ และตัวอักษร “R” ที่ย่อมาจากคำว่า Refrigerant หากใครที่สงสัยว่า การเติมน้ำยาแอร์แต่ละประเภทมีอะไรบ้าง มีคุณสมบัติเป็นอย่างไร เราได้รวบรวมข้อมูลมาไว้ในหัวข้อนี้เรียบร้อยแล้ว
เติมน้ำยาแอร์ R22

การเติมน้ำยาแอร์ R22 จะนิยมเติมกับแอร์บ้านทั่วไป และออฟฟิศที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก น้ำยาแอร์ R22 ราคามักจะต่ำกว่าน้ำยาแอร์ประเภทอื่น โดยน้ำยาแอร์ชนิดนี้มีคุณสมบัติในการทำอุณหภูมิต่ำสุดได้ถึง -40.80 ºC เป็นสารเหลวที่มีความปลอดภัยต่อการใช้งาน ไม่ติดไฟ ไม่มีสี และไม่มีกลิ่น รวมถึงมีประสิทธิภาพการทำความเย็น (Cooling Capacity) = 100 จึงทำให้ระบบทำความเย็นมีความปลอดภัยสูง โดยปริมาณในการเติม R22 มีดังนี้

ขณะคอมเพรสเซอร์แอร์ทำงาน (PSI)

    ท่อแรงดันต่ำ 60-80 psi
    ท่อแรงดันสูง 245-295 psi

ขณะคอมเพรสเซอร์แอร์ปิดการทำงาน (PSI)

    ท่อแรงดันต่ำ 150 psi
    ท่อแรงดันสูง 150 psi

เติมน้ำยาแอร์ R32

น้ำยาแอร์ R32 เป็นสารทำความเย็นที่ถูกพัฒนามาใหม่ล่าสุด มีราคาค่อนข้างสูง โดยน้ำยาแอร์ในรูปแบบ R32 จะมีค่า ODP (Ozone Depletion Potential) ที่ต่ำกว่าสารทำความเย็นชนิด R22 จึงไม่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ โดนนยยน้ำยาแอร์ประเภทดังกล่าวมีค่าประสิทธิภาพการทำความเย็น (Cooling Capacity) = 160 โดยปริมาณการเติมน้ำยาแอร์ R32 จะมีดังนี้

ขณะคอมเพรสเซอร์แอร์ทำงาน (PSI)

    ท่อแรงดันต่ำ 100-150 psi
    ท่อแรงดันสูง 330-477 psi

ขณะคอมเพรสเซอร์แอร์ปิดการทำงาน (PSI)

    ท่อแรงดันต่ำ 270 psi
    ท่อแรงดันสูง 270 psi

เติมน้ำยาแอร์ R410A

น้ำยาแอร์ R410A เป็นชนิดที่ไม่ทำลายชั้นโอโซนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่สำหรับการใช้ R410A จำเป็นต้องถ่ายน้ำยาแอร์ชนิดเดิมออกให้หมดก่อน โดยการเติมน้ำยาแอร์ R410A จะช่วยประหยัดพลังงานได้มากที่สุด และในการเติมน้ำยาแอร์ตัวนี้ยังต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก เพราะเป็นสารเหลวที่ติดไฟได้ง่าย ซึ่งมีปริมาณในการเติมดังนี้

ขณะคอมเพรสเซอร์แอร์ทำงาน (PSI)

    ท่อแรงดันต่ำ 100-150 psi
    ท่อแรงดันสูง 330-477 psi

ขณะคอมเพรสเซอร์แอร์ปิดการทำงาน (PSI)

    ท่อแรงดันต่ำ 250 psi
    ท่อแรงดันสูง 250 psi

น้ำยาแอร์ต้องเติมตอนไหน มีอายุการใช้งานนานหรือไม่?


ขั้นตอนเติมน้ำยาแอร์

สำหรับอายุการใช้งานของน้ำยาแอร์นั้น เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะยังไม่ทราบ หรือเข้าใจผิดกันมาตลอดว่าการเติมน้ำยาแอร์นั้นเป็นเพราะน้ำยาแอร์หมดจากการใช้งาน แต่ในความเป็นจริงแล้วน้ำยาแอร์นั้นไม่มีวันหมด

น้ำยาแอร์สารเหลวทำความเย็นที่มีอายุการใช้งานหลายปี มีหลักการทำงานคือหมุนเวียนอยู่ภายในคอมเพรสเซอร์ นั่นหมายความน้ำยาแอร์จะไม่มีวันหมดไปนั่นเอง

เมื่อพบแอร์ไม่เย็น หรือน้ำยาแอร์หายไป ในเบื้องต้นแล้วมักจะพบว่าเกิดจากสาเหตุน้ำยาแอร์รั่ว ทำให้หากพบว่ามีปัญหาน้ำยาแอร์รั่ว จำเป็นที่จะต้องทำการซ่อมแอร์ก่อนการเติมน้ำยาแอร์ การตรวจสอบดังกล่าวอาจจะทำด้วยตัวเองได้ยาก จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบโดยช่างซ่อมแอร์มืออาชีพ


แนะนำวิธีการเติมน้ำยาแอร์โดยช่างซ่อมแอร์มืออาชีพ

การเติมน้ำยาแอร์นั้นทำด้วยตัวเองได้ยาก เนื่องจากจำเป็นต้องมีการตรวจสอบสภาพเครื่องปรับอากาศให้มั่นใจว่าน้ำยาแอร์หมดจากสาเหตุใด มีรอยรั่วในจุดไหนหรือเปล่า รวมไปถึงอุปกรณ์และน้ำยาแอร์ที่ต้องใช้นั้น อาจหาได้ยากสำหรับคนทั่วไป


1. ตรวจสอบว่ามีการเติมน้ำยาแอร์ชนิดไหน

น้ำยาแอร์บางประเภทไม่สามารถเติมผสมร่วมกันได้ โดยเฉพาะน้ำยาแอร์ R410A ที่มีส่วนผสม 2 ชนิด จึงต้องทำการถ่ายน้ำยาชนิดเดิมออกให้หมดก่อนที่จะเติมน้ำยาแอร์ใหม่เข้าไป


2. ตรวจสอบระบบท่อน้ำยาแอร์

น้ำยาแอร์เป็นของเหลวที่มีอายุการใช้งานยาวนานเพราะฉะนั้นหากเกิดสถานการณ์ที่น้ำยาแอร์หมด ควรที่จะต้องมีการตรวจสอบระบบการทำงาน และหารอยรั่วเพื่อทำการซ่อมก่อน โดยวิธีตรวจสอบที่ช่างนิยมใช้กันนั้นก็คือการใช้น้ำสบู่ลูบไปตามท่อ หากจุดไหนรั่วก็จะเกิดฟองสบู่ขึ้น


3. ดูดอากาศและความชื้นออกให้หมด

ไม่เพียงเฉพาะการนำน้ำยาแอร์เก่าออกให้หมดเพียงเท่านั้น แต่จำเป็นต้องดูดอากาศและความชื้นออกให้หมดด้วยเช่นกัน ต้องไม่ปล่อยให้มีความชื้นเหลืออยู่เลยแม้เพียงนิดเดียว เพราะความชื้นนั้นอาจจะจับตัวเป็นเกล็ดน้ำแข็งอยู่ภายในระบบท่อ และขัดขวางการไหลของน้ำยาได้ รวมไปถึงยังอาจเกิดการกลายสภาพเป็นกรดไฮโดรคลอริก (Hydrochloric acid) ไปทำลายส่วนที่เป็นโลหะของระบบปรับอากาศได้อีกด้วย


4. เริ่มต้นการเติมน้ำยาแอร์

การเติมน้ำยาแอร์สามารถเปิดเครื่องคอมเพรสเซอร์ เพื่อดูดน้ำยาจากถังในรูปแบบของก๊าซ และสามารถดูที่ชุด Gauge Manifold หรือปัจจุบันแอร์มีความเย็นในระดับไหน น้ำยาที่เติมไปเพียงพอแล้ว


5. ตรวจสอบระดับน้ำยาแอร์

สำหรับการตรวจสอบว่าน้ำยาแอร์ที่เติมไปนั้นเพียงพอแล้วหรือยัง ให้ปิดวาล์วทั้งด้าน Low และ High จากนั้นดูความดันน้ำยา หรืออีกกรณีสามารถดูจากรายละเอียดของเครื่องที่จะบอกปริมาณการเติมน้ำยาแอร์เป็นน้ำหนักไว้ โดยสามารถเทียบกับน้ำหนักของถังน้ำยาที่ชั่งครั้งแรก และครั้งล่าสุดว่าลดลงจากที่บันทึกไปเท่าไหร่